ยาสามารถทดแทนพยาธิปากขอเพื่อรักษาโรค coeliac ได้หรือไม่?
การใช้พยาธิปากขอในการรักษาโรค coeliac เป็นการศึกษาที่มีแนวโน้มดีมานานกว่าทศวรรษ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย James Cook ของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับเงินทุนจาก Coeliac Australia เพื่อสร้างผลการวิจัยการทดลองทางคลินิกล่าสุด ในการทดลองมีผู้เข้าร่วม 54 คนที่เป็นโรค coeliac โดยควบคุมด้วยยาหลอก และได้รับการสุ่มเลือกการรักษาสองครั้ง ห่างกัน 8 สัปดาห์ โดยเริ่มจาก 0 (กลุ่มควบคุม) และใช้พยาธิปากขอ 10 หรือ 20 ตัว หนึ่งเดือนหลังจากการให้ยาครั้งสุดท้าย ผู้เข้าร่วมเริ่มรับประทานอาหารที่มีกลูเตนได้ อาการของโรค Coeliac ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้ที่มีพยาธิปากขอ ซึ่งบ่งชี้ถึงศักยภาพในการป้องกันการปนเปื้อนของกลูเตนในระดับต่ำสำหรับอาหารที่ปราศจากกลูเตน
กฎขั้นสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : การอ้างสิทธิ์ปราศจากกลูเตนสำหรับอาหารหมักดองและไฮโดรไลซ์
การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎขั้นสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับอาหารปราศจากกลูเตนในกลุ่มอาหารหมักดองและไฮโดรไลซ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยกฎขั้นสุดท้ายนี้ส่งผลต่ออาหาร เช่น โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง ผักดอง ชีส มะกอกเขียว น้ำส้มสายชู เบียร์ ไวน์ และโปรตีนจากพืชที่ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์ ในอาหารหมักดองและอาหารที่ผ่านการไฮโดรไลซ์นั้นโปรตีนจะถูกทำให้ถูกแตกออกเป็นสายเล็กๆ หรือกรดอะมิโนอิสระ ด้วยเหตุนี้วิธีทดสอบที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถตรวจจับและวัดปริมาณกลูเตนในอาหารหมักดองหรืออาหารที่ผ่านการไฮโดรไลซ์ได้
ปริมาณความสับสนจากการติดฉลากแจ้งเตือนสารก่อภูมิแพ้
การทำความเข้าใจข้อมูลการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตหรือความตายได้ดีเพียงใด ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Utrecht ของเนเธอร์แลนด์และ TNO ได้สำรวจว่าผู้ที่มีและไม่มีอาการแพ้อาหารตีความข้อมูลการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างไร ผู้บริโภค 200 รายที่มีส่วนร่วมในการทดสอบสองครั้ง โดยแบ่งเป็น 50:50 ระหว่างผู้ที่มีอาการแพ้อาหารที่รายงานด้วยตนเองกับผู้ที่ไม่มี ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่แตกต่างกัน 18 ชนิดที่มีฉลากระบุว่ามีถั่วลิสงอยู่ ฉลากที่อาจมีถั่วลิสงอยู่ หรือ ฉลากที่ระบุว่าไม่ใช้ส่วนผสมจากถั่วลิสง จากนั้นได้นำเสนอรูปแบบของการติดฉลากป้องกันสารก่อภูมิแพ้ (PAL) สามรูปแบบ ได้แก่ “ผลิตในโรงงาน” และ “อาจจะมี” หรือ “มีร่องรอยของ”
วิธีการผลิตข้าวโอ๊ตสำหรับตลาดอาหารปราศจากข้าวสาลี
นับว่าเป็นความท้าทายมากในการผลิตข้าวโอ๊ตสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน กลุ่มเกษตรกรสามกลุ่มในรัฐออสเตรเลียตะวันตกกำลังเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้โดยตรงเพื่อต้องการข้าวโอ๊ตที่ปราศจากข้าวสาลี เกษตรกรสามกลุ่มได้พัฒนาวิธีการปลูกที่เข้มงวดรวมถึงการปลูกพืชหมุนเวียนรอบข้างแปลงเป็นแนวยาวซึ่งหมายถึงจะไม่มีการปลูกข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์ในบริเวณเดียวกันก่อนที่จะทำการปลูกข้าวโอ๊ต โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่คัดเกรดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเมล็ดข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์ปนเปื้อนมาในชุดที่ปลูกและใช้แรงงานจำนวนมากคัดแยกเมล็ดแปลกๆ ด้วยมือ พื้นที่ปลูกข้าวโอ๊ตจะปลูกด้วยมือเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีพืชชนิดอื่นปนเปื้อน