คณะทำงานจากสถาบันโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลีนิคแห่งยุโรป (EAACI) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้เกณฑ์เพื่อกำหนดระดับสารก่อภูมิแพ้สำหรับการแสดงฉลากที่มีความซับซ้อนและควรทำให้ครอบคลุม
คณะทำงานจากสถาบันโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลีนิคแห่งยุโรป (EAACI) แสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอปริมาณ 0.5 มิลลิกรัมของสารก่อภูมิแพ้ต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัมว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับการติดฉลากแจ้งเตือนสารก่อภูมิแพ้ (PAL) ซึ่งการใช้เกณฑ์ที่กำหนดระดับสารก่อภูมิแพ้นั้นมีความซับซ้อนและควรใช้อย่างระมัดระวัง
ข้อมูลจากบทความของ Zuberbier และคณะไม่พบรายงานการเกิดปฏิกิริยา anaphylactic อย่างรุนแรงในผู้ที่แพ้อาหารเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร100 กรัม อย่างไรก็ตาม Turner และคณะได้ตั้งข้อสังเกตว่าการกำหนดระดับที่ปลอดภัยของสารก่อภูมิแพ้นั้นเป็นสิ่งที่ท้าท้าย จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จากการนำข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่แพ้อาหารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เหมาะสมในการกำหนดปริมาณสารก่อภูมิแพ้เพื่อใช้เป็นนโยบายด้านสาธารณสุข ซึ่งผู้บริโภคที่แพ้อาหารต้องการมากกว่า “การบริโภคแล้วไม่เสียชีวิต” สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือสามารถบริโภคอาหารได้อย่างปลอดภัยโดยไม่แสดงอาการแพ้ใดๆ ซึ่งระดับที่ปลอดภัยอาจใช้ได้กับสารก่อภูมิแพ้บางชนิด ในขณะที่ผู้บริโภคบางส่วนยังคงประสบกับอาการแพ้รวมถึงอาการ anaphylaxis
ปัจจุบันแนวทางในการปฏิบัติได้แนะนำอาหารแบบชิ้นแก่ทารกอายุระหว่าง 4-6 เดือน และแนะนำสารก่อภูมิแพ้ในอาหารทั่วไปเมื่ออายุ 12 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้อาหารในเด็ก นักวิจัยชาวออสเตรเลียมองว่าการส่งข้อความ SMS เป็นประจำจะช่วยให้ทั้งผู้ปกครองและผู้ดูแลสถานรับเลี้ยงเด็กแนะนำสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มแรก
รัฐบาลออสเตรเลียสนับสนุนทุนวิจัยโรค coeliac
Dr Melinda Hardy (นักวิจัยหลังปริญญาเอก) และทีมงานจาก Melbourne’s WEHI ได้รับทุน National Health and Medical Research Council (NHMRC) มูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ผ่านโครงการ Ideas Gran scheme งานวิจัยที่ได้รับคือศึกษาผู้ป่วยโรค Coeliac และผู้ที่มีภาวะไวเกินต่อกลูเตน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการรักษาและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นิวซีแลนด์ค้นพบความสัมพันธ์ของการแพ้ที่ขาดหายไป
ทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ Malaghan เวลลิงตันได้ค้นพบข้อมูลที่คาดว่าจะมีความเชื่อมโยงระหว่างผิวหนังและการพัฒนาการเกิดอาการแพ้อาหาร นักภูมิคุ้มกันวิทยาได้ตั้งข้อสังเกตมานานแล้วว่าการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนังส่งผลต่อการเกิดอาการแพ้อาหารสำหรับบางคน ทั้งนี้มักพบในผู้ที่แพ้อาหารอย่างรุนแรงซึ่งจะพัฒนาไปสู่การแพ้ผลิตภัณฑ์ทางผิวหนังด้วย