วิธีการตรวจหาปัจจุบันรองรับการจัดการสารก่อภูมิแพ้ตามความเสี่ยงหรือไม่?
ดร. Melanie Downs จากหน่วยงาน Food Allergy Research and Resource Program (FARRP) ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสก้า-ลินคอล์น (Nebraska–Lincoln) กล่าวว่าการพิจารณาวิธีการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในอาหารควรเน้นในเชิงปริมาณตามกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงของสารก่อภูมิแพ้
จากบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety magazine) ดร. Downs กล่าวว่าวิธีการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหารตามความเสี่ยงมีความสำคัญมากในการสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการสารก่อภูมิแพ้รวมถึงการติดฉลากข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้ (Precautionary Allergen Labeling - PAL) จากข้อมูลใหม่เกี่ยวกับระดับปริมาณสารก่อภูมิแพ้หลักซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาในผู้ที่แพ้อาหาร จึงเริ่มใช้กระบวนการที่มีมาตรฐานรวมถึงขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการสารก่อภูมิแพ้และการแสดงฉลากในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น โปรแกรมการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ตามความสมัครใจของสำนักสารก่อภูมิแพ้ (The Allergen Bureau’s Voluntary Incidental Trace Allergen Labelling (VITAL) Program) สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มว่าสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นการทราบปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพของวิธีการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร เช่น ปริมาณขั้นต่ำที่สามารถบอกปริมาณได้ (limit of quantification, LOQ) ค่า Recovery ค่าความเที่ยง (Precision) และความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สารก่อภูมิแพ้ในอาหารให้แม่นยำและเที่ยงตรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้แมสสเปกโตรเมทรี (mass spectrometry, MS) จึงกลายเป็นวิธีการที่แม่นยำสำหรับการตรวจสอบและหาปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารแต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเป้าหมายหลักยังคงอยู่ที่อุตสาหกรรมอาหารในการประเมินและจัดการความเสี่ยงให้ดียิ่งขึ้น เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และปกป้องผู้บริโภคที่แพ้อาหาร
อ้างอิง : https://allergenbureau.net/do-current-detection-methods-support-risk-based-allergen-management/