การบริโภคสารก่อภูมิแพ้ในอาหารเป็นเวลานานอาจทำให้พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้
การแพ้อาหารกำลังแพร่หลายเพิ่มขึ้นไปทั่วโลก เข้าใกล้ระดับการแพร่ระบาดในบางภูมิภาค ในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียวพบเด็กและผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร โดยเกิดจากการแพ้นมวัว ไข่ ถั่วลิสง และถั่วเปลือกแข็งซึ่งพบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยอาจไม่ต้องไปพบแพทย์ ดังนั้นจึงไม่พบการรายงานในกรณีนี้ การแพ้อาหารหรือความไวในการแพ้อาหารเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่มากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่ไม่เป็นอันตรายในอาหาร สามารถแสดงอาการต่างๆ ตั้งแต่อาการคัน แดงและบวมซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ไม่รุนแรงไปจนถึงการอาเจียน ท้องร่วง หายใจลำบากและอาการรุนแรงต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
นอกจากการรายงานด้วยตนเองแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยการแพ้อาหารได้โดยการให้ผู้ป่วยติดตามปริมาณโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ผ่านทางช่องปากหรือผิวหนังและสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันที โดยทั่วไปแพทย์จะใช้การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของอิมมูโนโกลบูลิน E หรือ IgE ซึ่งเป็นแอนติบอดีพิเศษที่ระบบภูมิคุ้มกันใช้เพื่อระบุสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นการตอบสนอง แม้ว่าบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีระดับ IgE ในเลือดต่ำ แต่ผู้ป่วยที่แพ้อาหารจะมีระดับ IgE ที่สูงกว่ามากซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้อย่างรุนแรง สำหรับบางคนที่ผลการทดสอบทางผิวหนังเป็นบวก โดยระดับ IgE อยู่ในระดับปานกลางจะไม่สังเกตเห็นอาการแพ้เมื่อรับประทานอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้เข้าไป เงื่อนไขนี้บางครั้งเรียกว่าอาการแพ้ที่ไม่แสดงอาการ หลายครั้งผู้ที่มีอาการนี้อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตนเองมีความไวในการแพ้อาหาร ซึ่งไม่แสดงอาการจริงหรือมีผลกระทบภายในร่างกายที่ไม่รู้? นักประสาทวิทยาได้ศึกษาว่าสมองได้รับผลกระทบจากการแพ้อาหารอย่างไร โดยเริ่มสนใจหัวข้อนี้เมื่อพบว่าสมาชิกในครอบครัวบางคนมีความไวต่อนมวัว บางคนหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมโดยสิ้นเชิงเพราะมีอาการแพ้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ที่ไม่มีอาการแพ้โดยทั่วไปจะดื่มนมเป็นบางครั้ง แต่ดูเหมือนจะมีอาการป่วยที่ดูว่าไม่เกี่ยวข้องกันในหนึ่งหรือสองวันต่อมา สิ่งที่นักวิจัยคนอื่นๆ พบคือสารก่อภูมิแพ้ในอาหารอาจส่งผลต่อสมองและพฤติกรรมของคุณหากคุณมีภาวะภูมิไวเกิน แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการแพ้อาหารทั่วไปก็ตาม
อ้างอิง : https://medicalxpress.com/news/2022-12-long-term-consumption-food-allergens-behavior.html