เมื่ออาหารกลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร
องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ออกร่างเอกสารแนวทางการประเมินความสำคัญทางด้านสุขอนามัยของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่ปัจจุบันไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายสหรัฐอเมริกา โดยสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่ต้องแสดงในฉลากอาหาร ได้แก่ นม ไข่ ปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง ข้าวสาลี และถั่วเหลือง และระบุให้ งา เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องแสดงในฉลากโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
จากข้อมูลอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้พบอาหารมากกว่า 160 ชนิด ดังนั้นจึงได้จัดทำร่างคำแนะนำให้สอดคล้องกับร่างเอกสารดังกล่าว โดยแสดงขั้นตอนในการประเมินอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ชัดเจน และพิจารณาว่าต้องมีขั้นตอนอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ในเนื้อหาจะกล่าวถึงอาหารหรือวัตถุดิบที่บริโภคในปัจจุบันหรือเคยบริโภคมาก่อน แต่ไม่ได้กล่าวถึงวัตถุดิบที่อาจจะใช้เป็นแหล่งอาหารใหม่ ปัจจุบันทางองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาข้อมูล ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลการแสดงฉลากอาหาร และคำแนะนำที่ใช้ในการระบุและการประเมินหลักฐานต่างๆ เพื่อประเมินความสำคัญและโอกาสในเกิดสารก่อภูมิแพ้ใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขของประเทศ
รายละเอียดร่างเอกสารเกี่ยวกับการประเมินความสำคัญของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารนอกเหนือจากสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติอาหาร ยา และเครื่องสำอางของรัฐบาลกลาง คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ขององค์การอาหารและยาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ขององค์การอาหารและยา (FDA website) และผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารได้ที่ https://www.regulations.gov/ นอกจากนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FDA media release (https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-takes-new-steps-regarding-evaluating-public-health-importance-additional-food-allergens) และ healio.com (https://www.healio.com/news/allergy-asthma/20220421/fda-introduces-draft-guidance-for-evaluating-food-allergens)
อ้างอิง: https://allergenbureau.net/when-does-a-food-become-a-food-allergen/