คุณทำงานกับผลิตภัณฑ์นมหรือไม่? คำแนะนำในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของสารก่อภูมิแพ้
สินค้าที่ไม่แสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้นมมีแนวโน้มถูกเรียกคืนสูงขึ้น เนื่องจากนมมักใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด คุณ Mamun Chowdhury ผู้จัดการด้านเทคนิคของบริษัท SGS ในอเมริกาเหนือ กล่าวถึงบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เผยแพร่โดย dairyfoods.com บทความได้กล่าวถึงรายงาน “องค์ประกอบของแผนการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อย่างมีประสิทธิภาพ” ที่พัฒนาโดยโครงการวิจัยและทรัพยากรโรคภูมิแพ้ในอาหาร (Food Allergy Research and Resource Program, FARRP) ของมหาวิทยาลัย the University of Nebraska ซึ่งในบทความนี้ไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะกระบวนการผลิตนมเท่านั้น แต่เน้นเรื่องการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อย่างมีประสิทธิภาพที่ต้องมีการแยกอย่างชัดเจนระหว่างอาหารหรือวัตถุดิบที่มีสารก่อภูมิแพ้และไม่มีสารก่อภูมิแพ้ ตั้งแต่เริ่มนำเข้าในโรงงาน สู่สายการผลิต จนกระทั่งกระบวนการสุดท้าย
แผนการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีทีมจัดการสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะ การทำแผนของสารก่อภูมิแพ้ในโรงงาน การจัดโครงสร้างโรงงานด้วยการกำหนดพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสารก่อภูมิแพ้และผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ การกำหนดขั้นตอนและวิธีทวนสอบการทำความสะอาดสารก่อภูมิแพ้ นอกจากนี้ควรมีทีมตรวจสอบและเฝ้าระวังสารก่อภูมิแพ้เพื่อแผนการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความแนะนำให้ใช้การวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise resource planning (ERP)) ในการระบุวัตถุดิบหรือสถานที่ของโรงงานที่มีสารก่อภูมิแพ้ จัดทำแผนปฏิบัติงานให้กับพนักงานระหว่างการผลิตสินค้าที่มีสารก่อภูมิแพ้และไม่มีสารก่อภูมิแพ้ รวมถึงขั้นตอนการทำความสะอาดขั้นสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นการผลิตในแต่ละวัน โดยมีประโยชน์มากสำหรับผู้ผลิตนมเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะสำหรับสารก่อภูมิแพ้ การฆ่าเชื้อที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับโปรแกรมการจัดการสารก่อภูมิแพ้
สำหรับผู้ที่สนใจบทความนี้สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “How to sidestep the allergen minefield in dairy processing”.
อ้างอิง: https://allergenbureau.net/do-you-work-with-dairy-foods-heres-how-to-avoid-allergen-risks/