การติดฉลากสารก่อภูมิแพ้อาหารในประเทศญี่ปุ่น: แนวโน้มล่าสุดสำหรับถั่วเปลือกแข็งและกลูเตน
การติดฉลากสารก่อภูมิแพ้อาหารในประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันการติดฉลากของไข่ นม ข้าวสาลี บัควีท ถั่วลิสง กุ้งและปูซึ่งเรียกว่า “ส่วนผสมที่มีสารก่อภูมิแพ้เฉพาะ” เป็นข้อบังคับของสำนักงานคณะรัฐมนตรี ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันการแจ้งเตือนของ Consumer Affairs Agency ได้แนะนำให้ติดฉลากส่วนผสมอีก 21 ชนิด (ส่วนผสมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ย่อยๆ) รวมถึงอัลมอนด์ (อธิบายไว้ด้านล่าง)
ตั้งแต่เริ่มต้นการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้อาหาร การสำรวจทั่วประเทศของการแพ้อาหารได้ดำเนินการทุก 3 ปี การสำรวจนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่แพ้อาหารมาเป็นระยะเวลา 1 ปีที่ให้ความร่วมมือกับการสำรวจและข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้มีผลต่อรายการติดฉลากข้อบังคับหรือฉลากแนะนำตามความจำเป็น ตัวอย่างเช่น เมล็ดงาและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในรายการติดฉลากแนะนำในปี พ.ศ. 2556 บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้จากผลการสำรวจ ผลการสำรวจล่าสุดในปี พ.ศ. 2561 ได้แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยที่แพ้ถั่วเปลือกแข็งบางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น วอลนัทและอัลมอนด์ (ตารางที่ 1)
อัพเดทเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้จากออสเตรเลีย
ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่มีประสิทธิผลสำหรับกลุ่มผู้แพ้อาหารในประเทศออสเตรเลีย เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการริเริ่มของกลุ่มผู้ป่วยที่แพ้จำนวนหนึ่งและจะมีมากขึ้นซึ่งมีกำหนดจะเปิดตัวในปลายปีนี้
สำนักงานสารก่อภูมิแพ้ (AB)
สำนักงานสารก่อภูมิแพ้ (AB) ได้เปิดตัวเว็บเพจการตรวจสอบความเสี่ยงฟรีซึ่งอธิบายขั้นตอนการทบทวนความเสี่ยงแบบเป็นขั้นเป็นตอนและช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบแต่ละส่วนของสายการผลิตได้ เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลรายละเอียดในพื้นที่จำเพาะของการผลิตเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงของกระบวนการทั้งหมด หน้าเว็บนี้ให้บริการฟรีสำหรับทุกท่านและเป็นสุดยอดของโครงการความร่วมมือ โดยมีส่วนร่วมจากบุคคลและบริษัทที่มีความรู้ครอบคลุมเกี่ยวกับการตรวจสอบและการจัดการความเสี่ยงต่อสารก่อภูมิแพ้ที่มีประสบการณ์ยาวนานหลายปี http://allergenbureau.net/risk-review
มีการเพิ่มเว็บเพจการวิเคราะห์ไปยังเว็บไซต์ของสำนักงานสารก่อภูมิแพ้ หน้าเว็บนี้ได้กำหนดหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์สารก่อภูมิแพ้รวมถึงตัวเลือกที่มีอยู่และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งาน หน้าเว็บจะได้รับการอัพเดตเป็นประจำและข้อมูลที่มีอยู่จะยังคงถูกขยายต่อไป http://allergenbureau.net/food-allergens/food-allergenanalysis/
สำนักงานสารก่อภูมิแพ้ได้ประกาศบทสรุปของข้อเสนอแนะสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของ VITAL 2019 ข้อสรุปนี้รวมถึงคำแนะนำสำหรับการอ้างอิงปริมาณสารก่อภูมิแพ้ใหม่สำหรับโปรแกรม VITAL® เวอร์ชัน 3.0 คณะผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของ VITAL® (VSEP) พบกันในปลายปี พ.ศ. 2561 และต้นปี พ.ศ. 2562 เพื่อพัฒนาปริมาณอ้างอิงที่แนะนำสำหรับสำนักงานโครงการทางด้านสารก่อภูมิแพ้ VITAL® (โปรแกรมการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้โดยสมัครใจ) VSEP ตั้งข้อสังเกตถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนจุดข้อมูลที่เหมาะสมจากผู้ที่เคยผ่านการศึกษาที่ท้าทายสำหรับสารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่ มีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับไข่ เฮเซลนัท ลูปิน นม มัสตาร์ด ถั่วลิสง งา กุ้ง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี เม็ดมะม่วงหิมพานต์ คื่นฉ่าย ปลาและวอลนัท และผลปริมาณ ED01 ถูกระบุสำหรับสารก่อภูมิแพ้ทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่:
http://allergenbureau.net/vital-scientific-expert-panel-2019-summary-recommendations-the-new-allergenreference-doses-for-vital-program-version-3-0
ข้อมูลเพิ่มเติมจะตาม VITAL 3 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจะรวมถึงการเปิดตัวข้อมูลและเครื่องมือการฝึกอบรมที่ได้รับการอัพเดท
ในสหรัฐอเมริกาพระราชบัญญัติการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้อาหารและการคุ้มครองผู้บริโภคปี ค.ศ. 2004 (FALCPA) ได้กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการแสดงสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญบนฉลากของอาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) จากข้อมูลของ FALCPA ผู้ผลิตจะต้องระบุสารก่อภูมิแพ้ในอาหารหลักที่ตั้งใจใส่แปดชนิดเพิ่มเติมและส่วนผสมที่ได้มาจากอาหารเหล่านี้ ได้แก่ นม ไข่ ปลา สัตว์น้ำที่มีเปลือก หอย ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวสาลี ถั่วลิสงและถั่วเหลือง รายการสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่ระบุใน FALCPA นั้นคล้ายคลึงกับรายการสารก่อภูมิแพ้ที่มีความสำคัญในส่วนอื่นๆ ของโลก แม้ว่าจะมีเขตอื่นๆ ได้เพิ่มเติมอาหาร เช่น งา มอลลัส หอย ลูปิน คื่นฉ่ายและมัสตาร์ด
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ได้ลงนามใน (HB2123) เป็นกฎหมาย (Public Act 101-0129) ซึ่งมีผลกระทบต่อการติดฉลากงาในรัฐนี้ซึ่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายอาหาร ยาและเครื่องสำอางของรัฐอิลลินอยส์ เพื่อแจ้งว่าอาหารนั้นมีการปนเปื้อน ถ้าอาหารนั้นมีงาควรให้จำหน่ายในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่อยู่บรรจุภัณฑ์แต่ไม่ใช่อาหารเพื่อการบริโภคโดยทันทีและฉลากที่ไม่รวมงาด้วย การแก้ไขข้อความสั้นๆ ผู้ผลิตอาจถูกทิ้งให้อยู่กับคำถามหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
กรณีศึกษาทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตน
ทีมนักวิจัยนานาชาติได้พัฒนาเทคโนโลยีที่กำจัดโปรตีนกลูเตน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จะทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรค celiac ยอมรับมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ชาวโปรตุเกส อิตาลี ฝรั่งเศสและสเปนพบว่าการจัดโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนกลูเตนช่วยลดความสามารถในการกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันโรค celiac วิธีการนี้ใช้โพลีแซคคาไรด์ตามธรรมชาติ เช่น ไคโตซาน การจัดโครงสร้างของโปรตีนใหม่จะช่วยลดความสามารถของการย่อยกลูเตนลงซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยโปรตีนและเปปไทด์ที่เป็นพิษสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรค celiac