ในกลุ่มนี้รวมถึงต้นถั่วจริงๆ เช่น ถั่วบราซิล ฮาเซลนัท วอลนัท และพีแคน ขณะที่การศึกษาแสดงให้เห็นว่าต้นถั่วนี้ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่นถั่วลิสง แต่ก็เกิดอาการแพ้ได้รุนแรงถึงขนาดที่เสียชีวิตได้ในบางราย เด็กๆ ที่มีภาวะไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ต่อต้นถั่ว ก็จะยังมีอาการไปตลอด
อาการแพ้ฮาเซลนัทและ อัลมอนด์ จะมีลักษณะคล้ายกับผู้ที่แพ้ผลไม้ และเกี่ยวเนื่องกับอาการแพ้เกสรต้นไม้ การแพ้ถั่วนั้นเกิดได้แม้ในถั่วที่ผ่านการปรุงให้สุกแล้วและยังไม่สุก และคาดว่าการย่างหรือปิ้งนั้นอาจทำให้เกิดการแพ้ในอีกลักษณะอื่นได้
การแพ้สัตว์น้ำที่มีเปลือกนั้นมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และปฎิกิริยาการแพ้ปลานั้นพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อัตราการแพ้อาหารทะเลนั้นจะเกิดได้สูงในประเทศที่มีการบริโภคปลาและสัตว์น้ำมีเปลือกในปริมาณสูง สามารถเกิดลักษณะการแพ้ได้หลายลักษณะที่พบในการแพ้อาหารเหล่านี้ รวมถึงการแพ้แบบรุนแรง การปรุงให้สุกนั้นไม่สามารถทำให้การแพ้ในปลาและสัตว์น้ำมีเปลือกหายไปได้ ในบางรายก็มีการแพ้ปลาที่ทำให้สุกแล้ว แต่ในปลาดิบไม่แพ้ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแพ้ปลาคือ โปรตีนในเนื้อปลาที่เรียกว่า parvalbumins ที่มีอยู่ในเนื้อปลาทุกชนิด นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมคนที่แพ้ปลา cod ก็มักจะแพ้ปลาอื่น ๆ เช่น hake, carp, pike ด้วยอาการแพ้สัตว์น้ำเปลือกแข็ง มักพบได้ในเนื้อและส่วนที่เป็นระบบโปรตีนกล้ามเนื้อ ขณะที่ในกุ้งก็ยังสามารถพบว่าแพ้ได้จากเปลือกกุ้ง
อาหารในกลุ่มนี้รวมถึงถั่วเหลืองและถั่วลิสงด้วย ถั่วลิสงนั้นเป็นหนึ่งในอาหารหลาย ๆ อย่างที่พบว่ามีคนแพ้ได้บ่อย และมีอาการหลายลักษณะรวมถึงอาการแพ้แบบรุนแรงด้วย อาการแพ้ถั่วลิสงนั้นพบได้ในเด็ก และโดยทั่วไปมักเป็นไปตลอด อาหารชนิดนี้จะทำให้เกิดการแพ้ได้ทั้งแบบดิบและแบบสุกแล้ว อาการแพ้ถั่วลิสงนี้อาจเป็นได้รุนแรงแม้ว่าจะรับประทานเข้าไปแต่เพียงน้อยนิด ดังนั้นการที่แปรรูปถั่วเป็นน้ำมัน หรือเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ก็มากพอที่จะทำให้บางรายเกิดอาการแพ้ได้
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในถั่วลิสงและถั่วเหลืองคือ โปรตีนที่เมล็ดเป็นที่เก็บอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตเป็นต้นถั่ว อาการแพ้อย่างหนึ่งในถั่วเหลืองนั้นคล้ายกันมากกับการแพ้ไรฝุ่น ยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าอาจมีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการแพ้ฝุ่นกับการแพ้ถั่วเหลือง
จะสังเกตเห็นได้ว่าอาการแพ้ไข่นั้น มักจะเกิดในเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ และเช่นเดียวกับนมวัวคืออาการแพ้จะค่อยๆ หายไปเมื่ออายุ มากขึ้น บางครั้งบางคราวเด็กๆ ก็จะมีลักษณะอาการแพ้หลายๆ อย่าง ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการแพ้ไข่คือ โปรตีนที่อยู่ในไข่ขาวชื่อ ovomucoid, ovalbumin และ ovotransferrin
ไข่ของสัตว์ปีกอื่นๆ เช่น เป็ด ก็มีลักษณะคล้ายกันมากกับไข่ไก่ และทำให้เกิดการแพ้ได้เช่นเดียวกัน จึงไม่ควรกินเพื่อทดแทนกัน
พบว่าเด็กทารกจำนวน 2 ใน 100 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นจะมีอาการแพ้นมวัว ซึ่งเป็นการแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก และอาการแพ้นั้นจะหายไปเมื่อมีอายุประมาณ 3 ปี ที่อัตราส่วน 9 ใน 10 และพบว่าเป็นการไม่ปกติหากพบว่ามีการแพ้ลักษณะดังกล่าวในผู้ใหญ่ ลักษณะอาการคือ ในเด็กจะมีอาการอาเจียน และท้องเสีย และอาจพบว่า 30-50% มีอาการคันผิวหนังได้ในลักษณะต่างๆ จำนวนของเด็กที่มีปฎิกิริยาแพ้ต่อนมนั้นมีไม่มากที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปตลอดชีวิต ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการแพ้นมคือ โปรตีนเคซิน, เวย์ และ b–lactoglobulin ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปมักจะแพ้โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดที่อยู่ในนมวัว
โปรตีนที่ได้จากนมวัวนั้นคล้ายกันมากกับนมแพะ และนมแกะ ซึ่งก็ทำให้เกิดการแพ้ในลักษณะที่คล้ายกับนมวัวด้วย ดังนั้น ทั้งนมแพะ และนมแกะ ก็ไม่ควรดื่มแทนนมวัวเพื่อหวังลดอาการแพ้นม