การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
สถาบันการศึกษา Anaphylaxis และภูมิคุ้มกันทางคลินิกแห่งยุโรป (EAACI) กล่าวว่าจะผลักดันกฎระเบียบการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในยุโรปให้เข้มงวดมากขึ้น โดยกฎหมายการติดฉลาก “may contain” ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการปกป้องผู้บริโภคที่แพ้อาหาร ทั้งนี้ผู้ผลิตอาหารต้องระบุสารก่อภูมิแพ้ตามกฎระเบียบของยุโรป 14 ชนิด ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง มัสตาร์ด ไข่ Lupin นม ปลา ธัญพืชที่มีกลูเตน งา คื่นฉ่าย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สัตว์ทะเลจำพวกหอย ปลาหมึก (molluscs) กุ้งและปู (crustaceans) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้การปฏิบัติที่ดีในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนข้ามและการมีอยู่ของสารก่อภูมิแพ้โดยไม่ตั้งใจ
คุณ Gomez และคณะได้กล่าวในวารสารคุณภาพอาหารว่าการผสมมีผลกระทบสำคัญต่อคุณภาพขนมปังปราศจากกลูเตนซึ่งเดิมเข้าใจว่าขึ้นกับระดับของความชื้นในแป้ง การค้นพบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชนิดของหัวผสมที่ใช้ ความเร็วในการผสมและเวลาในการผสมที่ส่งผลให้คุณภาพขนมปังปราศจากกลูเตนมีคุณภาพดีขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ได้นำเครื่อง rheofermentometer มาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดโดของแป้งในการผลิตขนมปังปราศจากกลูเตน