การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
คุณ Gomez และคณะได้กล่าวในวารสารคุณภาพอาหารว่าการผสมมีผลกระทบสำคัญต่อคุณภาพขนมปังปราศจากกลูเตนซึ่งเดิมเข้าใจว่าขึ้นกับระดับของความชื้นในแป้ง การค้นพบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชนิดของหัวผสมที่ใช้ ความเร็วในการผสมและเวลาในการผสมที่ส่งผลให้คุณภาพขนมปังปราศจากกลูเตนมีคุณภาพดีขึ้น นับเป็นครั้งแรกที่ได้นำเครื่อง rheofermentometer มาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดโดของแป้งในการผลิตขนมปังปราศจากกลูเตน
ไม่ควรเพิ่มปริมาณกลูเตนในผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตน
ผู้เชี่ยวชาญของประเทศออสเตรเลียกังวลถึงการเพิ่มค่าการปนเปื้อนของกลูเตนที่ยอมรับได้ในอาหารที่แสดงฉลากอาหารปราศจากกลูเตนในปี ค.ศ.1995 ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ออกกฎหมายการแสดงฉลากอาหารปราศจากกลูเตน (gluten free food) ว่าอาหารที่จะแสดงในฉลากเป็นอาหารปราศจากกลูเตนได้นั้นต้องเป็นอาหารที่ไม่มีการปนเปื้อนของกลูเตน ต่อมา Coeliac Australia และ Australian Food and Grocery Council (AFGC) โน้มน้าวให้ Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) เพิ่มปริมาณกลูเตนที่สามารถปนเปื้อนในอาหารที่แสดงฉลากอาหารปราศจากกลูเตน โดยจากเดิมที่ไม่มีกลูเตนปนเปื้อนสามารถมีปริมาณกลูเตนได้ในผลิตภัณฑ์ แต่ต้องมีปริมาณต่ำกว่า 20 ส่วนในล้านส่วนเพื่อให้มีอาหารปราศจากกลูเตนในตลาดสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น