การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ผลิตภัณฑ์ขนมอบปราศจากกลูเตนต้องไม่ลืมส่วนที่เป็นสตาร์ช
คุณ Elke Arendt ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารปราศจากกลูเตนและธัญพืชจากมหาวิทยาลัย Cork ประเทศไอร์แลนด์ ได้กล่าวในงาน Fi’s Bakery Innovation Europe เมืองมิวนิค เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าผู้ผลิตที่ผลิตอาหารอบชนิดปราศจากกลูเตนที่มีคุณภาพสูง ต้องให้ความสำคัญกับสตาร์ชในสูตร รวมทั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
การสำรวจด้านสารก่อภูมิแพ้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการปฏิบัติในอุตสาหกรรม
ผลการสำรวจเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในอุตสาหกรรมอาหารโดยSGS ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 230 รายจาก 46 ประเทศ พบว่าหนึ่งในสามของธุรกิจอาหารร้อยละ 29 ขาดการประสานงานกันในการจัดการสารก่อภูมิแพ้อาหารในโรงงานและไม่มีข้อตกลงว่าด้วยระดับของสารก่อภูมิแพ้อาหารซึ่ง SGS กล่าวว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับแผนการควบคุมสารก่อภูมิแพ้อาหารที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการจัดการสารก่อภูมิแพ้และร้อยละ 67 ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมและการจัดการสารก่อภูมิแพ้เห็นว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับระดับสารก่อภูมิแพ้อาหารและความหมายที่เป็นสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับปฏิบัติการนั้นยังมีความแตกต่างกันมาก ในส่วนของการแสดงฉลากผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจำแนกส่วนผสมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้อาหารที่มีอยู่ในสูตรการผลิต รวมทั้งโอกาสในการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต Dr.EvangeliaKomitopoulouผู้จัดการทางด้านเทคนิคสากลของ SGS กล่าวว่าการขาดข้อตกลงในเรื่องระดับสารก่อภูมิแพ้อาหารที่ยอมรับร่วมกันในระดับสากลเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่มีมากขึ้น จากการตีความหมายที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้ผลิตจึงทำให้มีการใช้ฉลากแจ้งเตือนมากเกินจำเป็น ส่งผลให้การดูแลเรื่องความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสร้างความสับสนในกลุ่มผู้บริโภคและทำให้ผู้บริโภคละเลยที่จะอ่านฉลากความเสี่ยงจึงมีมากขึ้นหลายเท่า ในขณะเดียวกันความแตกต่างของข้อกฎหมายว่าด้วยการแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้นั้นก็มีความซับซ้อน ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดและมีจำนวนการเรียกคืนสินค้าเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรให้มีการบังคับใช้ข้อกำหนดที่สอดคล้องกันของประเทศต่างๆ