การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์อาหารและการเกษตร พบว่าขนาดอนุภาคของแป้งข้าวโพดมีอิทธิพลต่อการทำขนมปังปราศจากกลูเตน ซึ่งแป้งข้าวโพดที่มีขนาดอนุภาคแตกต่างกันจะส่งผลต่อการขึ้นรูปของโดขนมปังและเนื้อสัมผัส โดยแป้งเนื้อหยาบจะให้ขนมปังปราศจากกลูเตนดีที่สุด ปกติแป้งข้าวโพดหยาบเมื่อนำมาทำขนมปังทั่วๆไปจะให้ผลิตภัณฑ์ขนมปังที่ฟูดีแต่ความหนาแน่นเนื้อน้อยกว่าขนมปังที่ทำจากแป้งละเอียด เนื่องจากแป้งบดหยาบสามารถเก็บสะสมแก๊สปริมาณสูงได้ดีในระหว่างการหมัก จึงส่งผลต่อปริมาตรที่เพิ่มขึ้น ในการทดสอบใช้แป้งข้าวโพดสามชนิด ได้แก่ แป้งข้าวโพดจากข้าวโพดเหลือง semolina จากข้าวโพดเหลืองและแป้งจากข้าวโพดขาวจะถูกนำมาใช้ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยมีสูตรในการผสม 2 สูตร คือน้ำร้อยละ 80 และน้ำร้อยละ 110 พบว่าแป้งแต่ละชนิดที่ใช้ในสูตรจะมีอนุภาคที่แน่นและเมื่อรวมตัวกับแป้งที่มีขนาดใหญ่กว่าจะส่งผลให้มีปริมาตรของขนมปังเพิ่มขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า semolina จากข้าวโพดเหลืองให้ขนมปังที่มีปริมาตรสูงที่สุด ในขณะที่แป้งข้าวโพดขาวให้ขนมปังที่มีปริมาตรน้อยที่สุด โดยแป้งละเอียดจะเกิดความฟูต่ำกว่าทุกกรณีในขั้นตอนการหมัก
งานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Hydrocolloids ที่มีการนำแหล่งโปรตีนที่ไม่มีกลูเตน เช่น ขนมปังปราศจากกลูเตน อัลบูมิน คอลลาเจน ลูปิน และถั่วเหลือง ในการผลิตขนมปังปราศจากกลูเตนและช่วยให้มีอายุการเก็บยาวนานขึ้น แต่พบว่าโปรตีนถั่วเป็นที่ยอมรับมากที่สุด อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในรสสัมผัส สี กลิ่น และผลิตภัณฑ์สุดท้าย ส่วนโปรตีนจากถั่วเหลืองได้รับการยอมรับน้อยที่สุด เนื่องจากมีศักยภาพการขึ้นของปริมาตรขนมปังโดยให้โครงสร้างที่แน่นอน คณะนักวิจัยในโปแลนด์กล่าวว่าถึงแม้ว่าการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของขนมปังปราศจากกลูเตน เนื่องจากมีการเสริมไลซีนและเมไทโอนีนเข้าไป แต่โปรตีนถั่วเหลืองมีผลต่อการยอมรับในลักษณะเนื้อสัมผัสของขนมปัง ซึ่งงานวิจัยได้ชี้ว่าขนมปังที่ไม่มีโปรตีนเสริมจะได้รับการยอมรับลักษณะปรากฏมากที่สุด