การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ปริมาณความสับสนจากการติดฉลากแจ้งเตือนสารก่อภูมิแพ้
การทำความเข้าใจข้อมูลการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตหรือความตายได้ดีเพียงใด ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Utrecht ของเนเธอร์แลนด์และ TNO ได้สำรวจว่าผู้ที่มีและไม่มีอาการแพ้อาหารตีความข้อมูลการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างไร ผู้บริโภค 200 รายที่มีส่วนร่วมในการทดสอบสองครั้ง โดยแบ่งเป็น 50:50 ระหว่างผู้ที่มีอาการแพ้อาหารที่รายงานด้วยตนเองกับผู้ที่ไม่มี ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่แตกต่างกัน 18 ชนิดที่มีฉลากระบุว่ามีถั่วลิสงอยู่ ฉลากที่อาจมีถั่วลิสงอยู่ หรือ ฉลากที่ระบุว่าไม่ใช้ส่วนผสมจากถั่วลิสง จากนั้นได้นำเสนอรูปแบบของการติดฉลากป้องกันสารก่อภูมิแพ้ (PAL) สามรูปแบบ ได้แก่ “ผลิตในโรงงาน” และ “อาจจะมี” หรือ “มีร่องรอยของ”
วิธีการผลิตข้าวโอ๊ตสำหรับตลาดอาหารปราศจากข้าวสาลี
นับว่าเป็นความท้าทายมากในการผลิตข้าวโอ๊ตสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน กลุ่มเกษตรกรสามกลุ่มในรัฐออสเตรเลียตะวันตกกำลังเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้โดยตรงเพื่อต้องการข้าวโอ๊ตที่ปราศจากข้าวสาลี เกษตรกรสามกลุ่มได้พัฒนาวิธีการปลูกที่เข้มงวดรวมถึงการปลูกพืชหมุนเวียนรอบข้างแปลงเป็นแนวยาวซึ่งหมายถึงจะไม่มีการปลูกข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์ในบริเวณเดียวกันก่อนที่จะทำการปลูกข้าวโอ๊ต โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่คัดเกรดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเมล็ดข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เลย์ปนเปื้อนมาในชุดที่ปลูกและใช้แรงงานจำนวนมากคัดแยกเมล็ดแปลกๆ ด้วยมือ พื้นที่ปลูกข้าวโอ๊ตจะปลูกด้วยมือเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีพืชชนิดอื่นปนเปื้อน