การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ยาสามารถทดแทนพยาธิปากขอเพื่อรักษาโรค coeliac ได้หรือไม่?
การใช้พยาธิปากขอในการรักษาโรค coeliac เป็นการศึกษาที่มีแนวโน้มดีมานานกว่าทศวรรษ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย James Cook ของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับเงินทุนจาก Coeliac Australia เพื่อสร้างผลการวิจัยการทดลองทางคลินิกล่าสุด ในการทดลองมีผู้เข้าร่วม 54 คนที่เป็นโรค coeliac โดยควบคุมด้วยยาหลอก และได้รับการสุ่มเลือกการรักษาสองครั้ง ห่างกัน 8 สัปดาห์ โดยเริ่มจาก 0 (กลุ่มควบคุม) และใช้พยาธิปากขอ 10 หรือ 20 ตัว หนึ่งเดือนหลังจากการให้ยาครั้งสุดท้าย ผู้เข้าร่วมเริ่มรับประทานอาหารที่มีกลูเตนได้ อาการของโรค Coeliac ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในผู้ที่มีพยาธิปากขอ ซึ่งบ่งชี้ถึงศักยภาพในการป้องกันการปนเปื้อนของกลูเตนในระดับต่ำสำหรับอาหารที่ปราศจากกลูเตน
กฎขั้นสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : การอ้างสิทธิ์ปราศจากกลูเตนสำหรับอาหารหมักดองและไฮโดรไลซ์
การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎขั้นสุดท้ายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับอาหารปราศจากกลูเตนในกลุ่มอาหารหมักดองและไฮโดรไลซ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยกฎขั้นสุดท้ายนี้ส่งผลต่ออาหาร เช่น โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง ผักดอง ชีส มะกอกเขียว น้ำส้มสายชู เบียร์ ไวน์ และโปรตีนจากพืชที่ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์ ในอาหารหมักดองและอาหารที่ผ่านการไฮโดรไลซ์นั้นโปรตีนจะถูกทำให้ถูกแตกออกเป็นสายเล็กๆ หรือกรดอะมิโนอิสระ ด้วยเหตุนี้วิธีทดสอบที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถตรวจจับและวัดปริมาณกลูเตนในอาหารหมักดองหรืออาหารที่ผ่านการไฮโดรไลซ์ได้