การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
การปรับปรุงการแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้ในอาหารเพื่อคุ้มครองผู้ที่แพ้อาหารอย่างรุนแรง
โดย ALLERGEN BUREAU
25 ตุลาคม 2564
จาก 66 ประเทศใน 5 ทวีปที่ต้องการกฎหมายแจ้งส่วนผสมที่มีสารก่อภูมิแพ้ในภาชนะบรรจุอาหารปิดสนิท อย่างไรก็ตามในแต่ละประเทศและภูมิภาคนั้นมีความแตกต่างกันในการแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้ รวมถึงการแสดงฉลากแจ้งเตือนอาจมีการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีงานวิจัยที่กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาความแตกต่างระดับโลกที่เกี่ยวข้องดังนี้
ออสเตรเลีย ประเทศแรกของโลกที่มีแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและการจัดการเมื่อเกิด Anaphylaxis ในโรงเรียน
โดย ALLERGEN BUREAU
25 ตุลาคม 2564
การจัดการเมื่อเกิด Anaphylaxis ในโรงเรียนของประเทศออสเตรเลียมีแนวทางที่หลากหลายตามแต่ละโรงเรียนกำหนด เช่น หลักปฏิบัติ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ รวมถึงการรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ความแตกต่างนี้ทำให้เกิดความสับสนและส่งผลให้เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหารมีความเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้น National Allergy Strategy จึงมีการหารือแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและจัดการการเกิด Anaphylaxis ในโรงเรียนและสถานบริการดูแลเด็ก โดยใช้ระยะเวลา 2 ปี ในการหาข้อสรุป จากนั้นจึงประกาศเพื่อใช้เป็นแนวทางระดับชาติสำหรับการป้องกันและจัดการการเกิด Anaphylaxis ในโรงเรียน