การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเผยคำแนะนำการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ร่วมกันจัดตั้งที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยงของสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ซึ่งคณะที่ปรึกษานี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและผู้จัดการความเสี่ยงจากสถาบันการศึกษา รัฐบาล และอุตสาหกรรมอาหาร ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้คำแนะนำทางวิทยาศาสตร์เฉพาะเกี่ยวกับการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร 3 ด้าน สำนักสารก่อภูมิแพ้รู้สึกตื่นเต้นที่สมาชิกทั้งหกคนของ VITAL Scientific Expert Panel ในปัจจุบันได้เข้าร่วมกับคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญนี้
โรคภูมิแพ้อาหาร ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) เป็นหน่วยงานเฉพาะของสหประชาชาติที่เป็นผู้นำความพยายามระหว่างประเทศในการเอาชนะความหิวโหย เมื่อต้นปีนี้ทางสำนักงานองค์การอาหารและการเกษตรประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้เผยแพร่ข้อมูล “โรคภูมิแพ้อาหาร: ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อตระหนักถึงผลกระทบที่สำคัญของการแพ้อาหารต่อประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงที่สุดในโลก โดยจุลสารอธิบายว่าสิ่งสำคัญคือต้องจัดการการแพ้อาหารในบริบทระดับท้องถิ่น และช่วยให้ประเทศต่างๆ เข้าใจว่าสารก่อภูมิแพ้ใดที่พบได้บ่อยในประชากรแต่ละกลุ่ม อาหารใดบ้างที่ต้องติดฉลากในพื้นที่ที่แตกต่างกันของโลก และวิธีการกำหนดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยอาหารระดับโลก