การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ปริมาณโปรตีน 0.5 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัมเป็นเกณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงฉลากแจ้งเตือนการปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหารหรือไม่
โดย ALLERGEN BUREAU
24 พฤศจิกายน 2564
การแสดงฉลากแจ้งเตือนผู้บริโภคอาจมีการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหาร (Precautionary labelling, PAL) ของผู้ผลิตอาหารนั้นพบบ่อยบนฉลากอาหารแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เนื่องจากไม่มีเกณฑ์ในการนำมาใช้ที่ชัดเจน จึงมีการประชุมเพื่อกำหนดเกณฑ์ขึ้น ผลจากการประชุมเห็นควรให้แสดงฉลาก “อาจมีการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหาร” ในกรณีที่มีสารก่อภูมิแพ้โดยไม่ตั้งใจต่ำกว่า 0.5 มิลลิกรัมโปรตีนต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัม และการใช้เกณฑ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ผลิตอาหาร
Allergen Bureau ได้จัดการประชุม The Australian Institute of Food Science and Technology (AIFST)
โดย ALLERGEN BUREAU
25 ตุลาคม 2564
สำนักโรคภูมิแพ้ (Allergen Bureau) ได้จัดการประชุม The Australian Institute of Food Science and Technology (AIFST) ประจำปี พ.ศ. 2564 ในหัวข้อการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหารและการแสดงฉลากสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ผู้บรรยายคือคุณ Kirsten Grinter (เนสท์เล่) คุณ Jasmine Lacis-Lee (BVAQ) และคุณ Georgina Christensen (Allergen Bureau) วัตถุประสงค์เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และกลุ่มประเทศยุโรปทราบถึงมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร