การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักรขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงฉลากข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้
โดย ALLERGEN BUREAU
17 ธันวาคม 2564
สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (The UK Food Standards Agency, FSA) ได้รวบรวมความคิดเห็นจากภาคธุรกิจอาหารและผู้บริโภคเกี่ยวกับการแสดงฉลากข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้ (Precautionary labeling, PAL) หรือการใช้คำ “อาจจะมี” (may contain) บนบรรจุภัณฑ์อาหารตามความสมัครใจ จากข้อมูลพบผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy) ผู้ที่ไม่สามารถทนต่ออาหารบางชนิดได้ (Food Intolerance) หรือผู้ที่เป็นโรค coeliac ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงฉลากข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้ที่มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปนเปื้อนข้ามของสารก่อภูมิแพ้ แต่ผู้บริโภคอาจสับสนกับการแสดงฉลากข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้บนบรรจุภัณฑ์อาหารซึ่งข้อความอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผลิตภัณฑ์ และไม่มีการระบุระดับความเสี่ยงที่ชัดเจน
ความหวังใหม่ของเด็กที่แพ้นมอย่างรุนแรง
โดย ALLERGEN BUREAU
17 ธันวาคม 2564
การศึกษาทางคลินิกพบว่าเด็กที่แพ้นมอย่างรุนแรงอาจทนต่อการแพ้นมได้ หากได้รับนมผงปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณนมผงมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง