การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- lgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
- Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2.Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
- Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา
- Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ FAO/WHO แจ้งการดำเนินงานกับทาง Codex สำหรับข้อความฉลากแจ้งเตือนข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้
จากบทความล่าสุดโดยคุณ Glen Neal ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหารความเสี่ยงและข่าวกรองจากสำนักมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียนิวซีแลนด์เห็นว่าตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ควรใช้เกณฑ์ในการปฎิบัติเดียวกัน แต่การตีความข้อความ “อาจจะมี” ที่ปรากฎอยู่ในข้อความฉลากแจ้งเตือนข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้ (PAL) ตามที่ระบุไว้ในบทความของผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการ Codex ว่าด้วยฉลากอาหาร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาฉลากแจ้งเตือนข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยสร้างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศให้สอดคล้องกันในพื้นที่นี้ ดังนั้นทางกลุ่มสนับสนุนผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้บังคับใช้ฉลากแจ้งเตือนข้อควรระวังสารก่อภูมิแพ้มากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับแผนการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร
ในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในเรื่องความปลอดภัยอาหาร จากข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ล่าสุดเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) มาใช้ในการติดตามปริมาณกลูเตนหรือถั่วพิสตาชิโอบดในตัวอย่างแป้งถั่วเลนทิล (lentil flour)